Planner Note

เลี้ยงเพลพระ ต้องทำอะไรบ้าง โพสเดียวจบ เตรียมอาหารถวายพระแบบถูกวิธี

เชื่อว่าหลายๆคนที่ต้องจัดเลี้ยงเพลพระ อาจจะมีคำถามว่า เมื่อต้องจัดงานบุญไม่ว่าจะเป็น ทำบุญวันเกิด,
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่, ทำบุญบริษัท จะต้องทำอะไรบ้าง และจะต้องเตรียมอาหารถวายพระอย่างไร Party planner ของดีเคเทอริ่ง ก็เลยขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับการ เลี้ยงเพลพระ เพื่อให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนที่กำลังจะจัดงานบุญที่บ้านหรือที่ทำงานนะคะ แล้วคุณจะรู้ว่า ทําบุญเลี้ยงพระ ไม่ได้ยากและวุ่นวายอย่างที่คิด โดยทั่วไปแล้ว ขั้นตอนในการเลี้ยงเพลพระ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่
เลี้ยงเพลพระ ทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่

1.กำหนดวันทำบุญเลี้ยงพระ 

การกำหนดวันจะเลือกจากวันฤกษ์ดี หรือ วันฤกษ์สะดวก ก็แล้วแต่ความพอใจและความเหมาะสมของเจ้าภาพ แต่ถ้าเลือกวันฤกษ์ดี ก็ควรจะเตรียมการเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากพระสงฆ์อาจจะติดกิจนิมนต์งานอื่นๆได้ และการหาทีมจัดเลี้ยงมืออาชีพ มาช่วยเตรียม อาหารงานเลี้ยงพระ ก็ควรรีบจับจองคิว เนื่องจากคนส่วนใหญ่นิยมเลือกทำบุญในวันฤกษ์ดี

ทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่

2.นิมนต์พระ

ขั้นตอนถัดมาหลังจากกำหนดวันทำบุญเลี้ยงพระได้แล้วก็คือ การนิมนต์พระสงฆ์ โดยการนิมนต์พระอาจจะเลือกจากวัดที่อยู่ใกล้ หรือวัดที่ศรัทธาก็ได้ สิ่งที่ควรแจ้งในการนิมนต์พระ แต่ละครั้งมีดังต่อไปนี้

  • เป็นการเลี้ยงพระในงานบุญอะไร: เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญบริษัท
  • กำหนดวันงาน: วันที่ เดือน พ.ศ. ที่จัดงานและตรงกับวันขึ้น-แรมเดือนอะไร สามารถค้นหาในอินเตอร์เน็ตได้ไม่ยาก
  • จำนวนพระสงฆ์: ต้องการนิมนต์พระสงฆ์มาร่วมงานกี่รูป โดยปกติแล้วงานมงคลนิยมนิมนต์พระเป็นจำนวนคี่ เริ่มต้นตั้งแต่ 5 รูปขึ้น และโดยทั่วไปมักนิยมนิมนต์พระ 9 รูปเพราะพ้องเสียงกับคำว่า ก้าว คือเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง
  • สถานที่: สถานที่ในการจัดงานบุญพร้อมๆกับแผนที่ (กรณีนิมนต์ให้พระท่านเดินทางมาเอง)
  • การเดินทาง: จะให้พระสงฆ์เดินทางมาเอง หรือจะจัดรถมารับ ถ้าจะจัดรถมารับ ก็นัดหมายเวลาให้เรียบร้อย
  • ก่อนงานเริ่ม 1 วัน: ไปที่วัดเพื่อนรับอุปกรณ์โต๊ะหมู่บูชา อาสนะพระ และเสื่อ มาจัดเตรียมให้เรียบร้อย พร้อมกับถือโอกาสแจ้งเวลางานกับทางวัดอีกครั้ง

 

  • ข้อที่ควรระวังเกี่ยวกับการนิมนต์พระ!! เวลาไปนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ แล้วต้องการให้พระอยู่ฉันอาหารต่อ ให้แจ้งเพียงนิมนต์ฉันเช้าหรือ ฉันเพล ห้ามบอกชื่ออาหารที่จะถวาย เช่น นิมนต์ฉันก๋วยเตี๋ยว นิมนต์ฉันขนมจีนแกงเขียวหวานเจ้าอร่อย เนื่องจากจะผิดพระวินัยพุทธบัญญัติ พระสงฆ์จะไม่รับนิมนต์ หรือถ้ารับนิมนต์แล้วฉัน เป็นอาบัติมีโทษทางพระวินัย
อาหารเลี้ยงพระ

3.เชิญแขกมาร่วมงานเลี้ยง

เมื่อเอ่ยว่างานทำบุญเลี้ยงพระ แน่นอนว่าใครๆก็ต้องอยากมาร่วม สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับถัดมาก็คือการนัดหมายแขก ญาติ เพื่อนฝูง ให้มาร่วมงาน ข้อมูลที่จะต้องแจ้งให้แขกทราบให้เป็นอย่างดีก็คือแผนที่ในการเดินทางมาร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระ เพราะเมื่อถึงวันจริงคุณจะยุ่งมากจนอาจจะไม่มีเวลามากพอสำหรับการอธิบายวิธีการเดินทางได้

ทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่

4.จัดเตรียมอาหารถวายพระ

และก็มาถึงขั้นตอนสำคัญนั่นก็คือ การจัดเตรียมอาหารถวายพระเพล เรื่องแรกที่ต้องตัดสินใจคือ

วิธีการถวายอาหารพระ

  • ถวายอาหารพระแบบโตก: เหมาะกับงานเลี้ยงพระ ที่จัดในพื้นที่กว้างขวางเนื่องจากการวางโตกใช้พื้นที่ในการวางมากกว่า นอกจากนี้มีความสะดวกในแง่ที่พระสวดเสร็จ ฆราวาสก็ประเคนโตกตรงนั้นเลย ไม่ต้องย้ายที่ไปมาให้วุ่นวาย เมื่อฉันเสร็จ เก็บโตกเรียบร้อย พระท่านก็ให้ศีลให้พระต่อไม่ต้องลุกไปมา
  • ถวายอาหารพระแบบวง: เหมาะกับการถวายอาหารพระในพื้นที่ไม่กว้างมากนัก มีทั้งล้อมวงฉันที่พื้น และฉันที่โต๊ะอาหารเพื่อความสะดวก

การจัดเตรียมอาหารต้อนรับแขก

เมื่อตัดสินใจในส่วนอาหารถวายพระ เราก็มาดูอาหารของแขก โดยทั่วไป อาหารเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระ ก็มักจะจัดเป็นแบบ บุฟเฟต์ หรือ โต๊ะไทย โดยใช้เมนูเลี้ยงแขกเป็นเมนูเดียวกับที่ถวายพระ

 

ในการจัดเตรียมงานเลี้ยง การคำนวณเรื่องปริมาณอาหารให้เหมาะสมและเพียงพอ กับจำนวนแขกที่มาร่วมงานเป็นเรื่องสำคัญ อย่าลืมว่างานบุญอาจจะไม่ใช่งานที่เราจัดกันบ่อยๆ ดังนั้นอย่าทำให้แขกต้องผิดหวัง และอาหารที่อร่อย จะสร้างความประทับใจให้กับแขกที่มาร่วมงาน คุณสามารถโทรหา Dee Catering เพื่อขอคำปรึกษาเรื่องอาหารถวายพระได้ เรามีความเชี่ยวชาญจากการจัดงานบุญมากมาย

ติดต่อเรา


082-7828958-9

sales@deecatering.com

RELATE POSTS